วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คำสาป.............



......คำสาป........

อันดับ 1 คําสาปในสวนอีเดน (Garden of Eden) นับเป็นคําสาปแรกเริ่มสุดๆ ตั้งแต่ครั้งพระเจ้าสร้างโลกโน่นเลย โดยปรากฏเรื่องราวอยู่ในพระคัมภีร์ไบเบิลว่า ก็อดทรงเสกอาดัม มนุษย์ผู้ชายขึ้นก่อน จากนั้นก็แซะเอาซี่โครงของอาดัมมาเสกเป็นอีฟ แล้วส่งทั้งคู่ไปอยู่ในสวนอีเดน พร้อมรับสั่งว่าจะกินอะไรก็ได้ทุกอย่าง ยกเว้นผลไม้จากต้นแห่ง ความรู้หรือแอปเปิ้ล แต่ไอ้งูตัวแสบ มันยุยงอีฟให้หมํ่า แอปเปิ้ลเข้าไป หมํ่าคนเดียวไม่พอ อีฟยังชักชวนให้อาดัมหมํ่าด้วย เมื่อขัดคําสั่งของพระเจ้า ก็เป็นเรื่องขึ้นโดยไอ้งูจอมแสบ โดนสาปให้ไปไหนมาไหน ด้วยการใช้ท้องไถไป อีฟโดนสาปให้คลอดลูก ด้วยความเจ็บปวดรวดร้าว ส่วนอาดัมต้องทํางานหาเลี้ยงท้องอย่างเหน็ดเหนื่อยทั้งชีวิต ซึ่งคําสาปมหากาฬนี้ก็ตกทอดมาถึงพวกเราทุกคนกระทั่งทุกวันนี้

วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553

วันลอยกระทง


ลอยกระทง
ประเพณีลอยกระทงนั้น ไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัดว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่เชื่อว่าประเพณีนี้ได้สืบต่อกันมายาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง เรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า "พิธีจองเปรียญ" หรือ "การลอยพระประทีป" และมีหลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงงานเผาเทียนเล่นไฟว่าเป็นงานรื่นเริงที่ใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย ทำให้เชื่อกันว่างานดังกล่าวน่าจะเป็นงานลอยกระทงอย่างแน่นอน ในสมัยก่อนนั้นพิธีลอยกระทงจะเป็นการลอยโคม โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสันนิษฐานว่า พิธีลอยกระทงเป็นพิธีของพราหมณ์ จัดขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้า 3 องค์ คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ต่อมาได้นำพระพุทธศาสนาเข้าไปเกี่ยวข้อง จึงให้มีการชักโคม เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระบาทของพระพุทธเจ้า ก่อนที่นางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สนมเอกของพระร่วงจะคิดค้นประดิษฐ์กระทงดอกบัวขึ้นเป็นคนแรกแทนการลอยโคม ดังปรากฎในหนังสือนางนพมาศที่ว่า "ครั้นวันเพ็ญเดือน 12 ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกษรสีต่าง ๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้ป็นลวดลาย..." เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯ ทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงโปรดให้ถือเป็นเยี่ยงอย่าง และให้จัดประเพณีลอยกระทงขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยให้ใช้กระทงดอกบัวแทนโคมลอย ดังพระราชดำรัสที่ว่า "ตั้งแต่นี้สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศถึงกาลกำหนดนักขัตตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานทีตราบเท่ากัลปาวสาน" พิธีลอยกระทงจึงเปลี่ยนรูปแบบตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

วาเลนไทน์


ประวัติวาเลนไทน์
วันวาเลนไทน์ มาจากชื่อของนักบุญวาเลนไทน์ (St.Valentine) ผู้ซึ่งมีชีวิตอยู่ใน สมัยกษัตริย์ Claudiusที่ 2 แห่งกรุงโรม ในสมัยนั้นกษัตริย์ Claudius ออกกฎห้าม ให้มีการแต่งงานในเมืองของพระองค์ เพราะกษัตริย์ทรงต้องการทำศึกสงครามทรง ต้องการให้ผู้ชายทุกคนไปเป็นทหาร พระองค์เชื่อว่าถ้าไม่มีการแต่งงานผู้ชายจะสน ใจกับการรบมากขึ้น
นักบุญวาเลนไทน์ขัดบทบัญญัติแห่งกฎหมายของกษัตริย์ ด้วยการเป็นบาทหลวง ในพิธีแต่งงานให้หนุ่มสาวที่ต้องการแต่งงานอย่างลับ ๆ และแล้ววันหนึ่งข่าวการทำ พิธีสมรสของนักบุญวาเลนไทน์ก็รู้ถึงหูของพระเจ้าClaudius พระองค์จึงทรงสั่งทหาร ไปจับเขาไปประหารชีวิต
ระหว่างอยู่ในคุกมีคู่แต่งงานที่ท่านเคยทำพิธีให้หลายคู่ลอบไปเยี่ยมเยียนท่าน อย่างสม่ำเสมอ และที่นั่นท่านยังได้รู้จักกับหญิงสาวคนหนึ่ง ซึ่งเป็นลูกสาวของผู้คุม เธอมักมาพูดคุยกับท่าน และบอกท่านเสมอ ๆ ว่า การกระทำของท่านถูกต้องแล้ว นักบุญวาเลนไทน์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ในปี 296 A.D. ในคุกแห่งนั้น เอง ก่อนตายท่านได้ฝากโน๊ตสั้น ๆ ถึงเพื่อนของท่าน และลงท้ายว่า "Love from your Valentine
ในปี 496 A.D.โป๊ปGelasiusได้ยกย่องให้วันที่ 14 กุมภาพันธ์เป็นวันวาเลนไทน์ เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้รำลึกถึงคุณความดี ความกล้าหาญ และความเสียสละของนักบุญ วาเลนไทน์ เราจึงมักถือเอาวันนี้เป็นวันแห่งความรัก ในระยะต่อมาวันวาเลนไทน์ ใช้แทนความรักของหนุ่มสาวเป็นส่วนใหญ่ โดยในวันนี้จะมีการส่งขนม (โดยเฉพาะ ช็อคโกแลต) ดอกไม้(ส่วนใหญ่จะดอกกุหลาบ) ให้กับคนที่รัก

ความสุขที่แท้


ยิ้ม................ยิ้ม.........................
- ความสุขใจสำหรับชีวิตยั่งยืนนั้น คือการทำในสิ่งที่ถูกต้องมากกว่าการทำในสิ่งที่ถูกใจ - - อย่าให้ความไขว้เขวและความพอใจเพียงชั่วครู่ - - ทำให้ต้องทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง จนอาจจะทำให้จิตใจมีรอยด่าง มีตราบาป - - ทำในสิ่งที่ถูกต้องเสียตั้งแต่วินาทีนี้ ดีกว่ามานั่งเสียใจในภายหลัง เพราะเมื่อคิดทบทวนย้อนหลังในยามแก่เฒ่า จะรู้สึกเป็นทุกข์ - - จงทำในสิ่งที่ถูกต้องมากกว่าสิ่งที่ถูกใจ - - สะสมสิ่งที่ดีและถูกต้องทั้งในแง่ศีลธรรมและจริยธรรมตั้งแต่บัดนี้ ก่อนที่จะเศร้าเสียใจในภายหลัง -
- คนเราต้องเดินหน้า เวลายังเดินหน้าเลย มีแต่วันนี้ที่มีค่า ไม่มีวันหน้า วันหลัง -
- จะเห็นค่าของความอบอุ่น เมื่อผ่านความเหน็บหนาวมาแล้ว - - อันตรายที่สุดคือ การคาดหวัง - - ไม่มีคำว่าบังเอิญ ในเรื่องของความรัก มีแต่คำว่า ตั้งใจ -
- ยิ่งมีใจศรัทธา ยิ่งต้องมีสายตาที่เยือกเย็น - - จงใช้สติ อย่าใช้อารมณ์ - - เบื้องหลังของความเข้มแข็ง สมควรมีความอ่อนโยน -
- เริ่มต้นดีแล้ว ลงท้ายก็ต้องดีด้วย - - ถ้าไม่ลองก้าว จะไม่มีวันรู้เลยว่าข้างหน้าเป็นอย่างไร - - อย่ายอมแพ้ ถ้ายังไม่ได้พยายามอย่างเต็มที่ - - ยินดีกับสิ่งที่ได้มา และยอมรับกับสิ่งที่เสียไป - - หลังพายุผ่านไป ฟ้าย่อมสดใสเสมอ - - หลังผ่านปัญหา จะรู้ว่าปัญหานั้นเล็กนิดเดียว -
.:: ปัญหาทุกอย่าง อยู่ที่ตัวเราทั้งสิ้น .::

"ราชินีแห่งดอกไม้"

กุหลาบ.......................
ดอกกุหลาบ (Rose) เป็น “ราชินีแห่งดอกไม้” และมักใช้เป็นสัญลักษณ์ของพระนางมารีย์ พระราชินีแห่งสวรรค์ เป็นสัญลักษณ์ของความรักที่สมบูรณ์แบบ เพราะมีสีสันสวยงาม รูปทรงได้สัดส่วน และมีกลิ่นหอม นอกจากนั้น ยังมีหนามที่หมายถึงบทบาทของพระนางมารีย์ ซึ่งมีส่วนไถ่กู้มนุษยชาติ ในฐานะพระมารดาของพระผู้ไถ่ ผู้ทรงถูกสวมมงกุฎหนาม และทรงหลั่งพระโลหิตบนกางเขน เพราะความรักต่อมนุษยชาติ ดอกกุหลาบที่มีต้นเป็นพุ่มหนาม ยังหมายถึงพระนางมารีย์ผู้ทรงเป็น “กุหลาบทิพย์” มีเพียงพระนางมารีย์เท่านั้นจากเผ่าพันธุ์มนุษย์ ที่ปฏิสนธิโดยปราศจากบาป นอกจากนี้ยังใช้เปรียบเทียบกับพุ่มไม้หนามที่ลุกเป็นไฟ ขณะที่พระเจ้าตรัสกับโมเสส ทั้งนี้เพราะพระนางมารีย์ ผู้ปฏิสนธินิรมล ทรงเป็นสื่อที่พระเจ้าทรงใช้ เมื่อรับสภาพเป็นมนุษย์ที่เรียกกันว่า “พระวจนาตถ์ทรงรับเอากาย”